การเติม -ed หรือ Regular verbs แบบละเอียด กับครูพี่โอเว่น

การเติม -ed หรือ Regular verbs แบบละเอียด กับครูพี่โอเว่น
ในส่วนของการเติม -ed นี้จะแบ่งหลักๆ เป็น 7 แบบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ

แบบที่ 1
ตามปกติเราจะเปลี่ยน กริยาช่องที่ 1 ให้เป็นกริยาช่อง 2 โดยการเติม -ed เข้าท้ายคำ
ตัวอย่างเช่น
wait – waited
ask – asked
clean – cleaned
follow – followed

แบบที่ 2
สำหรับกริยาที่ลงท้ายด้วย -e สามารถเติม -d เข้าได้เลยก็กลายเป็นกริยาช่องที่ 2 ทันที
ตัวอย่างเช่น
arrive – arrived
smile – smiled
die – died

แบบที่ 3
กริยาบางตัวสะกดด้วยสระหนึ่งตัวและตัวสะกดหนึ่งตัว ก่อนเติม -ed ต้องเพิ่มตัวสุดท้ายหรือตัวสะกดอีกหนึ่งตัว
ตัวอย่างเช่น
stop – stopped
beg – begged

แบบที่ 4
สำหรับคำกริยาที่มีตัวสะกดด้วยสระหนึ่งตัว และตัวสะกดหนึ่งตัว แต่มีสองพยางค์ เราต้องพิจารรณาการลงเสียงหนักเบาของคำๆนั้น ก่อนเติม -ed ท้ายคำ ถ้ากริยาตัวนั้นลงเสียงหนักที่พยางค์หลัง ต้องเพิ่มตัวสะกดตัวหนึ่งก่อนเติม -ed
ตัวอย่างเช่น
prefer – preferred

แบบที่ 5
แต่ถ้าคำกริยาลงเสียงหนักที่พยาค์หน้าไม่ต้องเติม -ed ท้ายคำ
ตัวอย่างเช่น
visit – visited
profit – profited

แบบที่ 6
กริยาที่ลงท้ายด้วย -y ก่อนเติม -ed เปลี่ยน -y เป็น -i ก่อนแล้วค่อยเติม -ed
ตัวอย่างเช่น
cry – cried
try – tried

แบบที่ 7
ยกเว้นถ้าหน้า -y เป็นสระ สามารถเติม -ed ได้เลย
ตัวอย่างเช่น
play – played
obey – obeyed

แชร์เลย